วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

ดอกพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางพญาเสือโคร่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช (Plantae)
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Rosales
วงศ์:Rosaceae
สกุล:Prunus
ชนิด:P. cerasoides
ชื่อทวินาม
Prunus cerasoides
D.Don[1]
ชื่อพ้อง
Prunus puddum (Roxb. ex Ser.)Brandis[2]
นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์Prunus cerasoides[3]อังกฤษWild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ภูลมโล จังหวัดเลยดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงรายดอยเวียงแหง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่,ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา และมณีพฤกษ์[4] จังหวัดน่าน โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม
ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม

ชื่อท้องถิ่น[แก้]

ชื่อท้องถิ่นของนางพญาเสือโคร่ง เช่น ฉวีวรรณ, ชมพูภูพิงค์ (เหนือ) เส่คาแว่, เส่แผ่, แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากุระดอย (เชียงใหม่) และได้รับฉายาว่า "ซากุระเมืองไทย" ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกดอกไม้พันธุ์นี้ว่า ฮิมาลายาซากุระ (ヒマラヤザクラ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
การปลูกเลี้ยง ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย ขยายพันธุ์โดยเมล็ด[5]

นางพญาเสือโคร่งและซากุระ[แก้]

คำว่า ซากุระกล่าวถึงพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides[3] ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นมีซากุระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ (ญี่ปุ่น染井吉野 somei-yoshino ?) ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × yedoensis
นางพญาเสือโคร่งแตกต่างจากซะกุระญี่ปุ่น คือมีช่วงเวลาการออกดอกต่างกันคือ นางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น และมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากุระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย มีสีที่หลากหลาย

รูปภาพ[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น