การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
- เป็นศิลปะการรำ และการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนมากเป็นการละเล่นประเภทการร้องโต้ตอบกันระหว่าง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องด้นกลอนสด เช่น ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ เพลงเหย่อย รำเถิดเทิง ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และ โหม่ง
การละเล่นพื้นเมืองภาคกลาง
- ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัว
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
- ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ รำแม่ศรี
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง
- ได้แก่ วงปี่พาทย์

รำกลองยาว
- รำกลองยาวหรือบางครั้งเรียกว่ารำเถิดเทิง สาเหตุที่มีชื่อเรียกว่ารำเถิดเทิงก็เนื่องมาจากเสียงกลองยาวที่เวลาตีมีเสียงคล้าย ๆ คำว่าเถิดเทิงนั่นเอง การแสดงชุดนี้ใช้แสดงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หรือในงานบวช เครื่องแต่งกายแสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของภาคกลางรำกลองยาว สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่าทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรีในเวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น "กลองยาว" พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง มีทำนองพม่า เรียกกันแต่เดิมว่า "เพลงพม่ากลองยาว" ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศีรษะโพกผ้าสีชมพู มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้ จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า "เพลงพม่ารำขวาน" ต่อมาการแสดงเถิดเทิงได้มีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น โดยมีการแต่งกายที่เป็นแบบอย่างไทย กำหนดท่ารำใหัมีความเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น และมีกลองยาวเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง
รำสีนวน
- เป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงละคร ประกอบกิริยาไปมาของสตรีที่มารยาทกระชดกระช้อย ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความพริ้งเพราไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทำนองร้องขึ้นประกอบการรำซึ่งทำให้ความหมายของเพลงเด่นชัด ปรากฏเป็นภาพงดงามเมื่อมีผู้ร่ายรำประกอบแต่เดิมการรำเพลงสีนวลมีอยู่แต่ในเรื่องละคร ภายหลังจึงแยกออกมาใช้เป็นระบำเบ็ดเตล็ด เพราะมีความงดงามไพเราะทั้งในชั้นเชิงของทำนองเพลง และท่ารำความหมายของการรำสีนวล เป็นไปในการบันเทิงรื่นรมย์ของหญิงสาวแรกรุ่นที่มีจริตกิริยางดงามตามลักษณะกุลสตรีไทย ด้วยความที่ทำนองเพลง บทขับร้อง และท่ารำที่เรียบง่ายงดงาม จึงเป็นชุดนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปจำนวนผู้แสดง ใช้แสดงเป็นหมู่ หรือแสดงเดี่ยวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสมดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์
บทร้องที่ใช้แสดงมีอยู่ ๓ รูปแบบ
แบบที่ ๑... ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล
- สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลหวนคิดถึง แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล... ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา
แบบที่ ๒ ประพันธ์บทร้องโดย นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ...
- ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล ร้องสีนวล อันการรำสีนวลกระบวนนี้ เป็นแบบที่ร้องรับไม่จับเรื่อง เป็นการรำเริงรื่นของพื้นเมือง เพื่อเป็นเครื่องพักผ่อนหย่อนอารมณ์ได้ปลดทุกข์สุขใจเมื่อไร้กิจ เข้ารำชิดเคียงคู่ดูเหมาะสมขอเชิญชวนมวลบรรดาท่านมาชม รื่นอารมณ์ยามที่รำสีนวล...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา
แบบที่ ๓... ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวลร้องสีนวล
- สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลหวนคิดถึง แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล ร้องอาหนู เจ้าสาวสาวสาวสาวสะเทิ้นเจ้าค่อยเดินค่อยเดินเดินตามทาง ฝูงอนงค์ทรงสำอางนางสาวศรีห่มสี (ซ้ำ)ใ ส่กำไลแลวิลัย ทองใบอย่างดี ทองก็ดีประดับสีเพชรพลอยพลอยงามดูงามใส่ต่างหูสองหู หูทัดดอกไม้สตรีใดชนใดในสยามจะหางามงามกว่ามาเคียง ไม่เคียง (ซ้ำ) ชวนกันเดิน พากันเดิน รีบเดินมา รีบเดินมาร่ายรำทำท่าน่ารักเอย...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา หมายเหตุ บทร้องอาหนู เป็นบทพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ท่อนสุดท้ายปรับปรุงขึ้นใหม่แตกต่างจากบทพระนิพนธ์) ผู้แสดงนุ่งผ้าโจง ห่มสไบจีบ สยายผมทัดดอกไม้ ใส่เครื่องประดับ (เข็มขัด กำไลมือ กำไลเท้า)ความยาวของชุดการแสดงจะแตกต่างกันคือรำสีนวล ออกเพลงเร็ว-ลา ใช้เวลาแสดงประมาณ ๕ นาทีรำสีนวล ออกเพลงอาหนู เพลงเร็ว-ลา ใช้เวลาแสดงประมาณ ๘ นาที
ระบำวิชนี
- เป็นระบำชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยใช้ทำนองเพลงจีนดาวดวงเดียว ซึ่งเป็นเพลงที่มีอยู่ มาประดิษฐ์เป็นท่ารำ โดยผู้แสดงจะแต่งกายแบบนางใน ในมือถือพัดมีด้ามประกอบการรำซึ่งมีศัพท์เรียกว่า วิชนี หรือ พัชนี ออกมาร่ายรําด้วยท่วงทํานองเพลงและบทร้องอันไพเราะ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ชาวไทยนิยมใช้พัดเป็นเครื่องบรรเทาความร้อน ดังนั้นนาฏศิลปชุด ระบําวิชนี จึงวิวัฒนาการมาจากการใช้พัด รําเพยลมของชาวไทยในทํานองอย่างมีศิลปนั่นเองผู้ประพันธ์เนื้อร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ของกรมศิลปากร
โดยมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้
หน้าร้อน
ทินกรเจิดแจ่มแฉล่มศรี
เกิดแสงแดดแผดมาสู่ร่างนี้
เผามาลีโรยเหงาเหี่ยวเฉาไป
อากาศร้อนอบอ้าวผะผ่าวผิว
ไล่ลมพริ้วมาไวคลายร้อนได้
พระพายหยุดสุดร้อนร้อนฤทัย
ต้องอาศัยโบกพัดกระพือลมวิชนี
ที่ช่วยให้โรยรื่นเย็นฉ่ำชื่นชุ่ม
ในฤทัยสมถึงเวลาหน้าร้อนร้อนระงม
เชิญมาชมรำพัดให้เย็นใจเอย....
เพลงบรรเลงรัว เพลงเชิดจีน




ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น